ประวัติความเป็นมาและตราสัญลักษณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ
ตราสัญลักษณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ เป็นหนึ่งใน 14 องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นตำบลที่เขตพื้นที่ติดเขตจังหวัดสุรินทร์และมีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ประมาณ 2 กิโลเมตร (มีแผนที่ประกอบ)
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ
ปัจจุบันเป็น อบต.ขนาดกลาง องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ ในปี พ.ศ.2540
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 156 หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองเสือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
โทร. 0 4379 0799
โทรสาร. 0 4579 1315
website : Muangsua.go.th/
อาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลปะหลาน
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบัว
อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงชัยและ
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงสะอาด
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลปะหลาน
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งจะลาดเอียงมีลำห้วยพลับพลาไหลผ่าน โดยปกติมีน้ำขังตลอดปี
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ มีพื้นที่โดยประมาณ 19.13 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 12,415 ไร่
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนขึ้นสลับร้อนแห้งหรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู เพราะเป็นลักษณะอากาศแบบภาคพื้นทวีป
มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อน
ฤดูฝน เริ่มประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายนและไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคม ฝนที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นฝนที่มากับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และจากพายุดีเปรสชั่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะในปีที่ฝนเริ่มเร็วฝนอาจหยุดไประยะหนึ่งซึ่งจะทำให้พืชผลเสียหาย
ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เดือนตุลาคมเป็นระยะเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนมาเป็นฤดูหนาว มวลอากาศเย็นหรือ ลิ่มความกดอากาศสูงจาก ประเทศจีนเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมโดยทั่วไป ซึ่งได้นำความเย็นและแห้งล้างมาลงสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ ทำให้อุณหภูมิค่อย ๆ ลดลง
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม เริ่มได้รับลงตะวันออกเฉียงใต้จากทะเลจีนใต้และจากอ่าวไทย แต่เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล อุณหภูมิจึงสูงโดยทั่วไปและแห้งแล้ง
1.4 ลักษณะของดิน
หินเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นหินทราย ซึ่งเมื่อสลายตัวจะเป็นดินทรายที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่เก็บน้ำ ทำให้เกิดปัญหาความแห้งแล้ง ดินส่วนใหญ่เป็นดินลานตะพักลำน้ำระดับกลางและสูง พบตามภูมิประเทศที่เป้ฯลูกคลื่น เป็นดินสีเทา เนื้อดินละเอียดปานกลางจนถึงหยาบมาก บางแห่งพบเส้นกรวดลูกรังอยู่ ตอนล่าง มีปฏิกิริยาเป็นกรด ส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกพืชไร่หรือพื้นที่เป็นป่าไม้
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ คือ
- น้ำบนผิวดิน คือ น้ำที่ขังอยู่ตามแม่น้ำ หนอง บึง หรือกุด แต่สภาพทางธรณีวิทยาที่มีภูมิประเทศเป็นลูกคลื่น ผิวดินบางและเป็นดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ เมื่อฝนตกน้ำก็จะไหลลงสู่แม่น้ำอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมในที่ต่ำ และในฤดูแล้งน้ำจะมีการระเหยออกจกผิวดินได้ง่าย จึงมักเกิดความแห้งแล้งขึ้น โดยทั่วไป การพัฒนาแหล่งน้ำบนผิวดินสามารถกระทำได้โดยการสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ขุดลอกกุดและขุดบ่อเก็บน้ำ โดยรองก้นบ่อด้วยแผ่นพลาสติกหรือ วัสดุอื่นที่กันการไหลซึมของน้ำ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-น้ำใต้ดิน มีการเจาะน้ำบาดาลโดยกรมทรัพยากรธรณี สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมพัฒนาที่ดิน กรมการปกครอง เป็นต้น ร้อยละ 30 เป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่มีความเค็มจนใช้การไม่ได้ เพราะมีหินเกลืออยู่ในระดับตื้นและปริมาณน้ำฝนที่จะไหลซึมลงไปเติมชั้นน้ำบาดาลมีเพียงร้อยละ 3 ของปริมาณน้ำฝนที่ได้รับเท่านั้น
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
ลักษณะโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ผลัดใบ คือ ป่าที่มีต้นไม้ซึ่งจะผลัดใบในฤดูแล้งเมื่อต้นไม้ขาดน้ำ มักพบในบริเวณที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลเกินกว่า 1,000 เมตร ได้แก่ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าแพะ ซึ่งเป็นป่าไม้ที่มีมากที่สุดในภาคะวันออกเฉียงเหนือ คือ ประมาณร้อยละ 75 ของป่าไม้ในภาค พบในเขตบริเวณที่เป็นที่ราบหรือเชิงเขาที่มีดินแห้งหรือเป็นดินลูกรังหรือหินกรวดลูกรัง ซึ่งเป็นดินโปร่งถ่ายเทน้ำได้ดี ป่าแดงมีลักษณะเป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดความสูงปานกลาง หรือต่ำและมีหญ้าสูงเป็นพันธุ์ไม้ปกคลุมดินกับมีไม้พุ่มชนิดต่าง ๆ ตัวอ่างไม้ในป่าแดง ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้พลวง ไม้เหียง ไม้กราดหรือสะแบง ไม่เขลง ส่วนพื้นที่อุดมสมบูรณ์จะมีไม้ป่าเบญจพรรณด้วย เช่น ไม่แดง ไม้มะค่าโมง เป็นต้น
2.ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน (เขตการปกครองตามลักษณะการปกครองท้องที่) ดังนี้
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มพื้นที่ทั้งหมูบ้าน 11 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านหนองกก
หมู่ที่ 2 บ้านเมืองเสือ
หมู่ที่ 3 บ้านหนองอีเข็ม
หมู่ที่ 4 บ้านหนองแคน
หมู่ที่ 5 บ้านหนองแคน
หมู่ที่ 6 บ้านบุลาน
หมู่ที่ 7 บ้านโนนศรีสุวรรณ
หมู่ที่ 8 บ้านหนองยาว
หมู่ที่ 9 บ้านเมืองอุดม
หมู่ที่ 10 บ้านหนองแคน
หมู่ที่ 11 บ้านหนองยาวเหนือ
จำนวนครัวเรือน
หมู่ที่ 1 บ้านหนองกก มีครัวเรือน จำนวน 87 ครัวเรือน
หมู่ที่ 2 บ้านเมืองเสือ มีครัวเรือน จำนวน 109 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3 บ้านหนองอีเข็ม มีครัวเรือน จำนวน 157 ครัวเรือน
หมู่ที่ 4 บ้านหนองแคน มีครัวเรือน จำนวน 115 ครัวเรือน
หมู่ที่ 5 บ้านหนองแคน มีครัวเรือน จำนวน 225 ครัวเรือน
หมู่ที่ 6 บ้านบุลาน มีครัวเรือน จำนวน 101 ครัวเรือน
หมู่ที่ 7 บ้านโนนศรีสุวรรณ มีครัวเรือน จำนวน 79 ครัวเรือน
หมู่ที่ 8 บ้านหนองยาว มีครัวเรือน จำนวน 54 ครัวเรือน
หมู่ที่ 9 บ้านเมืองอุดม มีครัวเรือน จำนวน 129 ครัวเรือน
หมู่ที่ 10 บ้านหนองแคน มีครัวเรือน จำนวน 72 ครัวเรือน
หมู่ที่ 11 บ้านหนองยาวเหนือ มีครัวเรือน จำนวน 77 ครัวเรือน
รวม 1,205 ครัวเรือน
(ข้อมูลจากการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือนตุลาคม 2559)