พันธกิจและวิสัยทัศน์ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเสือ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
“เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาตำบลและให้บริการสาธารณะในด้านโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ด้วยการบริหารตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน”
ยุทธศาสตร์
กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 9 ด้านดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการศึกษา
แนวทางการพัฒนา
1.1) ส่งเสริมและพัฒนาด้านการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
1.2) พัฒนาและเตรียมบุคลากรด้านการศึกษา (ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน) ให้เป็นผู้มีคุณภาพ มีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตรและปศุสัตว์
แนวทางการพัฒนา
2.1) พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณภาพสูงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยขอความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
2.2) ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรปรับปรุงผลิตผลให้มีคุณภาพมีมาตรฐานสากล โดยการร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
2.3) ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมอาหารและแปรรูปสินค้าทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและปริมาณสินค้าคุณภาพในท้องถิ่นส่งเสริมการกระจายสินค้าไปสู่ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยการร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
2.4) ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย โดยขอความร่วมมือและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคนและสังคม
แนวทางการพัฒนา
3.1) ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
3.2) ส่งเสริม พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส ประชาชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3.3) ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ
3.4) ดำเนินการสนับสนุน และประสานรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับเพื่อป้องกันและให้มีการปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิตและการจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุข
แนวทางการพัฒนา
4.1) สนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน(อสม.)
4.2) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในระดับหมู่บ้านและชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยให้การเรียนรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายการป้องกันโรค การใช้ยาอย่างถูกต้องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือการรับบริการด้านสาธารณสุขตามขั้นตอนและวิธีการทางการแพทย์
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
5.1) ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง
5.2) ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง
5.3) พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภครวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและกีฬานันทนาการ
แนวทางการพัฒนา
6.1) พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ สืบสานให้ดำรงอยู่สืบต่อไป
6.2) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการ กีฬาชุมชนและจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับจังหวัด รวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางด้านกีฬา
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
แนวทางการพัฒนา
7.1) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน มูลนิธิการกุศลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
7.2) ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสถานที่สำคัญ
7.3) สนับสนุนการดำเนินงานและการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูลูกเสือชาวบ้านและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐและดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจรในชุมชนหมู่บ้าน
8. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
8.1) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการพัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์
8.2) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ
8.3) ส่งเสริม สนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำระบบกำจัดขยะรวม เพื่อจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบ
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
9.1) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
9.2) นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร เพื่อให้บริการกับประชาชนให้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน ผู้รับบริการเป็นสำคัญ
9.3) สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพิ่มพูนความรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ การทำงานให้เกิดประสิทธิผลในการบริการประชาชน และในการสื่อสาร ทั้งนี้ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนคติในด้านต่างๆ กับองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น
9.4) บูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สร้างประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนใน อบต.
9.5) เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและความต้องการของประชาชนในการพัฒนา อบต.
3. เป้าประสงค์
1) การจัดการศึกษามีคุณภาพและทั่วถึง
2) ภาคการเกษตรและปศุสัตว์มีความเข้มแข็งและเป็นรายได้หลักของเกษตรกร
3) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมมีคุณภาพ
4) ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรค
5) โครงสร้างพื้นฐานมีมาตรฐานและทั่วถึง
6) ศาสนาวัฒนธรรมประเพณีได้รับการอนุรักษ์สืบสานและประชาชนให้ความสนใจการกีฬานันทนาการ
7) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
8) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความความอุดมสมบูรณ์
9) การเมืองและการบริหารเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
4. ตัวชี้วัด
1) ร้อยละของนักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
2) ร้อยละของผลผลิตด้านเกษตรและปศุสัตว์ที่มีอัตราเพิ่มขึ้น
3) ร้อยละของประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4) ร้อยละของอัตราการเจ็บป่วย
5) ร้อยละของโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน
6) ร้อยละของกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและกีฬานันทนาการที่ได้รับการส่งเสริมและอนุรักษ์
7) ร้อยละของประชาชนที่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
8) ร้อยละของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพมากขึ้น
9) ร้อยละของประชาชนที่มีความพึงพอใจในการบริหารงาน และร้อยละของปัญหาการทุจริตที่ลดลง
5. ค่าเป้าหมาย
1) นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ร้อยละ 90
2) ผลผลิตด้านเกษตรและปศุสัตว์ มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 60
3) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 80
4) อัตราการเจ็บป่วยลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60
5) โครงสร้างพื้นฐานได้มาตรฐาน ร้อยละ 90
6) ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและกีฬานันทนาการ ได้รับการส่งเสริมและอนุรักษ์ ร้อยละ 50
7) ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
8) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพมากขึ้นร้อยละ 50
9) ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริหารงาน ร้อยละ 80 และปัญหาการทุจริตลดลง ร้อยละ 50
6. กลยุทธ์
1) พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง
2) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา ครู นักเรียน ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล รองรับประชาคมอาเซียน
3) พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพ ส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงผลิตผลให้มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนการถนอมและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคเพื่อจำหน่วยและเพื่อการอนุรักษ์ และเพิ่มช่องทางตลาด
4) ส่งเสริมชุมชนให้เข้มแข็ง พัฒนาบทบาทของผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ประชาชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น
5) ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิตและการจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ
6) ดำเนินการโครงการ เพื่อให้บริการประชาชน และรับทราบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในทุกระดับ ให้มีสุขภาพแข็งแรง
7) ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง
8) พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่นโคราช โดยการอนุรักษ์สืบสานต่อและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว
9) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้
10) เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
11) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชนและสถานที่สำคัญ สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูลูกเสือชาวบ้านและอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) และดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจร
12) พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลองและป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน จัดทำระบบกำจัดขยะรวม และจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
7. จุดยืนทางยุทธศาสตร์
1) การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
2) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง
4) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน
5) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน